ประสิทธิภาพเครื่องสำอางตามท้องตลาด


ประสิทธิภาพเครื่องสำอางตามท้องตลาด
 คุณลักษณะเครื่องสำอาง
ในการผลิตเครื่องสำอาง (เครื่องสำอางตามท้องตลาด”.[ออนไลน์]. http://jantima-117.blogspot.com/) มีลักษณะการเตรียมหรือการผลิตเหมือนกับการเตรียมหรือการผสมยา แต่ในกรณีของการเตรียมเครื่องสำอางจะมีลักษณะที่เฉพาะเด่นชัดที่แตกต่างจากการผลิตยาอยู่ 3 ประการ คือ1. เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีกลิ่นหอมชวนดม2. มีลักษณะสวยงาม ทั้งลักษณะของผลิตภัณฑ์ รวมถึงการบรรจุหีบห่อ3. ใช้งานได้ง่าย สะดวกต่อการพกพาเครื่องสำอางโดยทั่วไป จะต้องบอกคุณลักษณะของเครื่องสำอางนั้นๆ ไว้ ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) เช่น ส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ วิธีใช้ ข้อควรระวัง ภาชนะและการบรรจุ รวมถึงการทดสอบ การตรวจหาปริมาณ และการวิเคราะห์ต่างๆ
ประโยชน์ของเครื่องสำอาง
1. ช่วยตกแต่งให้ผิวดูเนียนและผุดผ่องขึ้น เช่น แป้งแต่งหน้า ดินสอเขียนคิ้ว ครีมต่างๆ
2. ช่วยทำความสะอาดรักษาอนามัยและสุขภาพผิวของปากและฟัน เช่น สบู่และยาสีฟัน
3. ช่วยกลบเกลื่อนให้แลดูเป็นธรรมชาติ เช่น กลบฝ้าและไฝต่างๆ
4. ช่วยตกแต่งทรงผมให้อยู่ทรง และสวยงามตามที่ต้องการ
5. ช่วยทำให้สบายผิว แก้ความอับชื้น เช่น แป้งฝุ่นโรยตัว
6. ทำให้จิตใจสดชื่น รู้สึกผ่อนคลาย เนื่องจากกลิ่นหอมของเครื่องสำอาง


ประเภทของเครื่องสำอางเครื่องสำอาง
สามารถแบ่งได้เป็นหลายประเภท แต่โดยทั่วไปมักจะแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท คือ
1. เครื่องสำอางที่ไม่ได้ใช้แต่งสีของผิว เครื่องสำอางประเภทนี้ ใช้สำหรับการทำความสะอาดผิวหนัง หรือใช้เพื่อป้องกันผิวหนังไม่ให้เกิดอันตรายจาสิ่งแวดล้อม เครื่องสำอางประเภทนี้ได้แก่ สบู่ แชมพู ครีมล้างหน้า ครีมกันผิวแตก น้ำยาช่วยกระชับผิวให้ตึง เป็นต้น
2. เครื่องสำอางที่ใช้แต่งสีผิวเครื่องสำอางประเภทนี้ ใช้สำหรับการแต่งสีของผิวให้มีสีสดสวยขึ้นจากผิวธรรมชาติที่เป็นอยู่ เช่น แป้งแต่งผิวหน้า ลิปสติก รู้ช เป็นต้น

เครื่องสำอางที่พบในท้องตลาดอาจจะแบ่งออกเป็น 10 ประเภท ดังนี้

1. เครื่องสำอางสำหรับผิวหนัง ได้แก่a. ครีมทาผิวb. ผลิตภัณฑ์ขจัดสิวc. ผลิตภัณฑ์ขจัดสีผิวและขจัดฝ้าd. ผลิตภัณฑ์ระงับเหงื่อและขจัดกลิ่นตัวe. ผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดดf. ผลิตภัณฑ์ป้องกันแมลงกัดต่อย
2. เครื่องสำอางสำหรับผมและขน ได้แก่a. แชมพูและครีมนวดผมb. ผลิตภัณฑ์ตกแต่งผมc. ผลิตภัณฑ์สำหรับโกนหนวดและกำจัดขน
3. เครื่องสำอางสำหรับแต่งตาและคิ้ว
4. เครื่องสำอางสำหรับแต่งใบหน้าa. ผลิตภัณฑ์พอกและลอกหน้าb. ผลิตภัณฑ์กลบเกลื่อนc. ผลิตภัณฑ์รองพื้นแต่งหน้า  แป้งผัดหน้าและแป้งโรยตัว
5. เครื่องสำอางสำหรับแต่งแก้ม
6. เครื่องสำอางสำหรับแต่งปาก
7. เครื่องสำอางสำหรับทำความสะอาดผิวปาก และฟันa. ครีมล้างหน้าและครีมล้างมือb. ยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปาก
8. เครื่องสำอางสำหรับเล็บ
9. เครื่องสำอางสำหรับเด็ก
10. ผลิตภัณฑ์น้ำหอม

  การตรวจสอบ ประสิทธิภาพเครื่องสำอางตามท้องตลาด
เครื่องสำอาง คือ สาร หรือเครื่องประทินใดๆที่ใช้เพื่อทำให้เกิดความสวยงาม เสริมบุคลิกภาพ และอาจรวมไปถึงการส่งเสริมสุขภาพ และอนามัย ข้อจำกัดต่างๆทางเครื่องสำอาง ไม่เข้มงวดเหมือนข้อจำกัดทางด้านยา อย่างไรก็ตาม เครื่องสำอางบางประเภทอาจมีผลต่อสุขภาพ หรือก่อให้เกิดโทษแก่ผู้ใช้ได้ ตัวอย่างเช่นผลิตภัณฑ์บำรุงริมฝีปาก เช่น ลิปมัน อาจมีส่วนผสมที่อาจก่อให้เกิดพิษเมื่อรับประทาน หรือสะสมในร่างกาย ผลิตภัณฑ์กันแดด บำรุงผิว หรือปรับสภาพผิว อาจมีส่วนผสมที่ทำให้เกิดผื่นคัน หรือแพ้แสงแดด ดังนั้น นอกจากคุณภาพและประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางแล้ว ก่อนที่จะนำผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางออกจำหน่ายในท้องตลาด จำเป็นต้องทดสอบความปลอดภัยด้วย ในบทความนี้จะกล่าวถึงตัวอย่างการทดสอบ และประเมินผลประสิทธิภาพ และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง      ตัวอย่างการทดสอบ และการประเมินประสิทธิภาพ และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่จะกล่าวต่อไป มีดังนี้
1.        การทดสอบทางเคมีและกายภาพ (Physicochemical test)
2.        การทดสอบทางจุลชีววิทยา (Microbiological test)
3.        การทดสอบความพึงพอใจในการใช้ (Psychophysics test)
4.        การทดสอบประสิทธิภาพ (Efficacy test)
5.        การทดสอบความเป็นพิษ (Toxicological test)
6.        การทดสอบอื่นๆ (Miscellaneous test) 
นิยาม   การทดสอบทางเคมีและกายภาพ (Physicochemical test) เป็นการทดสอบพื้นฐานของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง โดยจะมีการทดสอบด้วยวิธีใดนั้นขึ้นกับลักษณะ ชนิด และประเภทของเครื่องสำอาง เป็นการตรวจสอบคุณภาพ ปริมาณสารสำคัญ ความคงตัว และความสม่ำเสมอของคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ การควบคุมคุณภาพนี้จะมีมาตรฐานเป็นข้อกำหนดที่ชัดเจน และมีองค์กรที่น่าเชื่อถือมารับรองผลการทดสอบ การทดสอบในประเภทนี้ ได้แก่ การทดสอบความคงตัวของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง และการวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง เป็นต้น
การทดสอบทางจุลชีววิทยา (Microbiological test) เป็นการทดสอบหาปริมาเชื้อจุลินทรีย์ (bacteria, yeasts, molds) ที่อาจมีอยู่ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง การหาเชื้อต้องห้ามในเครื่องสำอาง และการทดสอบประสิทธิภาพของสารกันเสียในเครื่องสำอาง เป็นต้น การทดสอบประเภทนี้มักทดสอบในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบเป็นส่วนใหญ่การทดสอบความพึงพอใจในการใช้(Psychophysics test) เป็นการทดสอบความพึงพอใจ ความรู้สึกของผู้ใช้ที่มีต่อผลิตภัณฑ์ โดยผลที่ได้จากการทดสอบอาจเป็นผลที่เห็นได้จริงและชัดเจน เช่น ทำให้รู้สึกอ่อนเยาว์ของครีมช่วยลดรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้า หรือเป็นผลที่เกิดจากจิตใจ เช่น ใช้ผลิตภัณฑ์ครีมแล้วทำให้รู้สึกว่าผิวเนียนนุ่มขึ้น ซึ่งอาจไม่เกิดขึ้นจริงตามนั้น เป็นต้น 
การทดสอบประสิทธิภาพ (Efficacy test)
 เป็นการทดสอบความสามารถของผลิตภัณฑ์ว่าสามารถก่อให้เกิดประสิทธิผลตามที่กล่าวอ้างได้จริงหรือไม่ และผลิตภัณฑ์นั้นมีประสิทธิภาพตามที่ต้องการหรือไม่ เช่น การทำให้ผิวขาวขึ้นจริงหรือไม่ โดยการตรวจวัดด้วยเครื่องมือในอาสาสมัครหลังใช้ผลิตภัณฑ์ การทดสอบประเภทนี้ทำให้ทราบว่าผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางมีสมบัติตามที่ต้องการหรือไม่ และเมื่อต้องการพัฒนาตำรับควรพัฒนาไปในทางใดการทดสอบความเป็นพิษ (Toxicological test) เป็นการทดสอบพิษหรืออันตรายที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากการใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เช่น การทดสอบ photo toxicity และ irritation เป็นต้น
การทดสอบนี้มักมีการทดสอบทั้งในระยะสั้นและระยะยาว มักมีการทดสอบก่อนที่จะนำสินค้าจำหน่ายในท้องตลาด และเป็นการทดสอบเพื่อรับรองความปลอดภัยแก่ผู้ใช้ เพื่อให้ผู้ใช้มั่นใจว่าจะไม่ก่อให้เกิดพิษเมื่อใช้ทั้งในระยะสั้น และระยะยาวการทดสอบอื่นๆ (Miscellaneous test) เป็นการทดสอบอื่นๆ เช่น การทดสอบความพึงพอใจในกลิ่นของเครื่องสำอาง ความคงทนในการใช้ เช่น การติดผิวของแป้งเพื่อป้องกันรังสี UV เป็นต้น
(   ประสิทธิภาพเครื่องสำอางตามท้องตลาด”.[ออนไลน์].http://www.ist.cmu.ac.th/ )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น